วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 1 โลกและจักรวาล

เอกภพ (Universe) เป็นที่ว่างที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลจนไม่สามารถกำหนดขอบเขตได้ ในเอกภพประกอบไปด้วยหลายๆ กลุ่มดาว หรือเรียกว่า กาแลคซี่ (Galaxy) ภายในกาแลคซี่ประกอบไปด้วยดวงดาวมากมายหลายร้อยล้านดวง ทั้งดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ฝุ่น และกลุ่มเนบิวลา เช่นเดียวกับกลุ่มดาวที่โลกเราเป็นสมาชิกอยู่ ได้แก่ กาแลคซี่ทางช้างเผือก (Milky Way) สาเหตุที่เราเรียกว่ากาแลคซี่ทางช้างเผือก เนื่องจากเมื่อเรามองจากโลกไปยังกาแลคซี่ดังกล่าวเราจะมองเห็นท้องฟ้าเป็นทางขาวคล้ายเมฆพาดยาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดว่าทางช้างเผือกนี้มีดวงดาวอยู่ประมาณแสนล้านดวง สำหรับระบบสุริยะจักรวาลของเราซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางช้างเผือก มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และมีดวงดาวต่าง ๆ หรือที่เรียกอีกอย่างว่าเทห์ฟากฟ้า ดวงดาวทุกดวงจะมีความเกี่ยวพันกันอยู่กับดวงดาวดวงหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ดวงจันทร์กับโลก โลกกับดวงอาทิตย์ เป็นต้น เทห์ฟากฟ้าที่ประกอบกันอยู่ในระบบสุริยะจักรวาล ได้แก่ ดาวเคราะห์ ดาวบริวาร ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง ดาวตก อุกกาบาต เป็นต้น

1. ระบบสุริยะจักรวาล (Solar System)  

กำเนิดของระบบสุริยะจักรวาลเกิดมาจากการระเบิดของดวงดาวขนาดใหญ่(Supernova Explosion)มีการรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนของฝุ่นและก๊าซ โดยการรวมตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนในเป็นการรวมตัวของฝุ่นและก๊าซ เมื่ออุณหภูมิลดลง แรงโน้มถ่วงจะดึงดูดให้ฝุ่นและก๊าซมีการอัดตัวกันแน่น เกิดความร้อนและปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่แกนของก๊าซไฮโดรเจนเปลี่ยนเป็นก๊าซฮีเลียมและเกิดเป็นพลังงานมหาศาล ส่วนนี้กลายเป็นดวงอาทิตย์ของระบบสุริยะจักรวาล ส่วนฝุ่นและก๊าซส่วนที่เหลือเมื่อเย็นตัวลงจะกลายเป็นดาวเคราะห์หมุนรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งดาวเคราะห์เหล่านี้ประกอบไปด้วยของแข็ง เช่น ดิน หิน และปกคลุมด้วยก๊าซ ส่วนดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากๆ จะเป็นกลุ่มก้อนก๊าซที่มีขนาดใหญ่มาก ระบบสุริยะจักรวาลเป็นระบบที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง มีดาวพระเคราะห์ 8 ดวง และดวงจันทร์มากกว่า 48 ดวง นอกจากนั้นยังประกอบไปด้วย ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง ดาวตก อุกกาบาต เป็นบริวารโคจรรอบๆ ดวงอาทิตย์ สามารถแยกพิจารณาได้ ดังนี้
1.ดาวเคราะห์(Planets)เป็นดวงดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง แต่แสงสว่างที่เราเห็นเป็นแสงสว่างที่สะท้อนมาจากดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวโลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน และดาวพลูโต

2.ดาวบริวาร(Satellites)ลักษณะคล้ายดวงจันทร์ที่เป็นดาวบริวารของโลก ซึ่งในระบบสุริยะจักรวาลมีจำนวนมากกว่า 30 ล้านดวง

3.ดาวเคราะห์น้อย(Asteroids)เป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 800 กิโลเมตร เช่น ดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ระหว่างที่ว่างของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี มีจำนวนดวงดาวประมาณ 1,800 ดวง ซึ่งเป็นดวงดาวที่พบเป็นส่วนมาก รองลงมา ได้แก่ ดาวเคราะห์น้อยที่พบระหว่างดวงอาทิตย์และดาวพุธ

4.ดาวหาง(Comets) มีส่วนหัวประกอบไปด้วยน้ำแข็ง ฝุ่น และอนุภาคของแข็งต่างๆ และมีก๊าซแข็ง เป็นไอห่อหุ้มใจกลางไว้ มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 100 ไมล์ เมื่อโคจรมาใกล้ดวงอาทิตย์ ความร้อนจากดวงอาทิตย์จะทำให้น้ำแข็งละลาย และฝุ่นก๊าซต่างๆ ลดลง

5.ดาวตก(Meteorite) เป็นเทห์ฟากฟ้าขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในระบบสุริยะจักรวาล ส่วนที่เหลือตกลงมาสู่พื้นโลกเราเรียกว่า อุกกาบาต ดาวตกเรียกอีกอย่างว่าผีพุ่งใต้ เกิดเนื่องจากสะเก็ดดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ที่หลุดออกจากวงโคจรตามปกติ และเมื่อโคจรเข้ามาใกล้แรงดึงดูดของโลก จึงดูสะเก็ดดาวตกให้ตกผ่านชั้นบรรยากาศของโลกตกมายังโลก ระหว่างเคลื่อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศเข้ามายังโลกจะเกิดการเสียดสีเผาไหม้ ทำให้เมื่อมองด้วยตาเปล่าจะเห็นเป็นแสงสว่างลุกวาบบนท้องฟ้า ที่เราเห็นเป็นดาวตก หรือผีพุ่งใต้นั่นเอง

6. อุกกาบาต (Meteorites) เป็นดาวตกที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่หมดและตกลงมายังพื้นโลก ประกอบไปด้วย เหล็ก นิเกิล เป็นส่วนใหญ่ โลกของเรามีอุกกาบาตตกลงมามากมาย แต่หลุมอุกกาบาตที่มีขนาดใหญ่เท่าที่พบอยู่ที่รัฐอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา มีความกว้างประมาณ 4,660 ฟุต ลึกประมาณ 629 ฟุต เกิดจากการตกของอุกกาบาตที่มีขนาด 50,000 ตัน ที่ตกลงมายังโลก

คำอธิบายรายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2

คำอธิบายรายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม ว33242 เวลาเรียน 60 ชั่วโมง จำนวน 1.5 หน่วยกิต
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557

ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพและความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต การศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต กำเนิดของสิ่งมีชีวิต กำเนิดของสิ่งมีชีวิต อาณาจักรสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ศึกษาเกี่ยวกับประชากร ความหนาแน่นและการแพร่กระจายของประชากร ขนาดของประชากร ขนาดของประชากร รูปแบบการเพิ่มของประชากร การรอดชีวิตของประชากร ประชากรมนุษย์ ศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ประโยชน์ ปัญหาและการจัดการ หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล การสังเกต การวิเคราะห์ การทดลอง การอภิปราย และสรุป เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ มีความสมารถในการตัดสินใจ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตของตนเอง มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม

ผลการเรียนรู้

                1.  สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายเกี่ยวกับความหมายและองค์ประกอบความหลากหลายทางชีวภาพ
                2.  สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายการศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต ชื่อของสิ่งมีชีวิต และการระบุชนิด
                3.  สืบค้นข้อมูล อภิปราย อธิบายและสรุปเกี่ยวกับกำเนิดของสิ่งมีชีวิต กำเนิดเซลล์โพรคาริโอตและเซลล์ยูคาริโอต
                4.  สืบค้นข้อมูล อภิปราย อธิบายและสรุปเกณฑ์ที่ใช้ในในการจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นโดเมนและอาณาจักร ลักษณะที่เหมือนกันและแตกต่างกันของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักร มอเนอรา อาณาจักรโพรติสตา อาณาจักรพืช อาณาจักรฟังไจ และอาณาจักรสัตว์
                5.  สืบค้นข้อมูล อภิปราย อธิบาย และนำเสนอคุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพกับการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ที่มีผลต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
                6.  สืบค้นข้อมูล อภิปราย และนำเสนอสถานการณ์ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทยและผลกระทบจากการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
                7.  ออกแบบสถานการณ์จำลองที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่างๆ ของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต
                8.  วิเคราะห์ อภิปราย และสรุปได้ว่าการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตสัมพันธ์กับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
                9.  สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายเกี่ยวกับความหมายของประชากร ความหนาแน่นของประชากร อัตราการเปลี่ยนแปลงนาดของประชากร และปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร
                10.  สืบค้นข้อมูล อภิปราย และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของประชากรมนุษย์ การเติบโตและโครงสร้างอายุของประชากร
                11.  สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
                12.  สืบค้นข้อมูล อภิปราย และสรุปแนวทางการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการอนุรักษ์และพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมทั้งเสนอแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
                13.  สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายเกี่ยวกับชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม

สาระสำคัญ

1. ความหลากหลายทางชีวภาพ
  1.1 ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
     1.2 การศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
            1.2.1 การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต           
            1.2.2 ชื่อของสิ่งมีชีวิต           
            1.2.3 การระบุชนิด
     1.3 กำเนิดของชีวิต
            1.3.1 กำเนิดของเซลล์โพรคาริโอต
            1.3.2 กำเนิดของเซลล์ยูคาริโอต
     1.4 อาณาจักรสิ่งมีชิวิต 
            1.4.1 อาณาจักรมอเนอรา
            1.4.2 อาณาจักรโพรติสตา
            1.4.3 อาณาจักรพืช
            1.4.4 อาณาจักฟังไจ
            1.4.5 อาณาจักรสัตว์
     1.5 ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย
     1.6 การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
2. ประชากร
     2.1 ความหนาแน่นและการแพร่กระจายของประชากร
            2.1.1 ความหนาแน่นของประชากร
            2.2.2 การแพร่กระจายของประชากร
     2.2 ขนาดพของประชากร
     2.3 รูปแบบการเพิ่มของประชากร
            2.3.1การเพิ่มของประชากรแบบเอ็กโพเนนเซียล
            2.4 การเพิ่มปรชากรแบบลอจิสติก
     2.4 การรอดชีวิตของประชากร
     2.5 ประชากรมนุษย์
            2.5.1 การเติบโตของประชากรมนุษย์
            2.5.2 โครงสร้างอายุของประชากรมนุษย์
3. มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม
     3.1 ทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ประโยชน์ ปัญหา และการจัดการ
            3.1.1 ทรัพยากรน้ำ            
            3.1.2 ทรัพยากรดิน            
            3.1.3 ทรัพยากรอากาศ            
            3.1.4 ทรัพยากรป่าไม้            
            3.1.5 ทรัพยากรสัตว์ป่า
     3.2 หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
     3.3 ชนืดพันธ์ุต่างถิ่นที่ส่งกระทบต่อสภาพแวดล้อม