วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 1 โลกและจักรวาล

เอกภพ (Universe) เป็นที่ว่างที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลจนไม่สามารถกำหนดขอบเขตได้ ในเอกภพประกอบไปด้วยหลายๆ กลุ่มดาว หรือเรียกว่า กาแลคซี่ (Galaxy) ภายในกาแลคซี่ประกอบไปด้วยดวงดาวมากมายหลายร้อยล้านดวง ทั้งดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ฝุ่น และกลุ่มเนบิวลา เช่นเดียวกับกลุ่มดาวที่โลกเราเป็นสมาชิกอยู่ ได้แก่ กาแลคซี่ทางช้างเผือก (Milky Way) สาเหตุที่เราเรียกว่ากาแลคซี่ทางช้างเผือก เนื่องจากเมื่อเรามองจากโลกไปยังกาแลคซี่ดังกล่าวเราจะมองเห็นท้องฟ้าเป็นทางขาวคล้ายเมฆพาดยาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดว่าทางช้างเผือกนี้มีดวงดาวอยู่ประมาณแสนล้านดวง สำหรับระบบสุริยะจักรวาลของเราซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางช้างเผือก มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และมีดวงดาวต่าง ๆ หรือที่เรียกอีกอย่างว่าเทห์ฟากฟ้า ดวงดาวทุกดวงจะมีความเกี่ยวพันกันอยู่กับดวงดาวดวงหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ดวงจันทร์กับโลก โลกกับดวงอาทิตย์ เป็นต้น เทห์ฟากฟ้าที่ประกอบกันอยู่ในระบบสุริยะจักรวาล ได้แก่ ดาวเคราะห์ ดาวบริวาร ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง ดาวตก อุกกาบาต เป็นต้น

1. ระบบสุริยะจักรวาล (Solar System)  

กำเนิดของระบบสุริยะจักรวาลเกิดมาจากการระเบิดของดวงดาวขนาดใหญ่(Supernova Explosion)มีการรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนของฝุ่นและก๊าซ โดยการรวมตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนในเป็นการรวมตัวของฝุ่นและก๊าซ เมื่ออุณหภูมิลดลง แรงโน้มถ่วงจะดึงดูดให้ฝุ่นและก๊าซมีการอัดตัวกันแน่น เกิดความร้อนและปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่แกนของก๊าซไฮโดรเจนเปลี่ยนเป็นก๊าซฮีเลียมและเกิดเป็นพลังงานมหาศาล ส่วนนี้กลายเป็นดวงอาทิตย์ของระบบสุริยะจักรวาล ส่วนฝุ่นและก๊าซส่วนที่เหลือเมื่อเย็นตัวลงจะกลายเป็นดาวเคราะห์หมุนรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งดาวเคราะห์เหล่านี้ประกอบไปด้วยของแข็ง เช่น ดิน หิน และปกคลุมด้วยก๊าซ ส่วนดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากๆ จะเป็นกลุ่มก้อนก๊าซที่มีขนาดใหญ่มาก ระบบสุริยะจักรวาลเป็นระบบที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง มีดาวพระเคราะห์ 8 ดวง และดวงจันทร์มากกว่า 48 ดวง นอกจากนั้นยังประกอบไปด้วย ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง ดาวตก อุกกาบาต เป็นบริวารโคจรรอบๆ ดวงอาทิตย์ สามารถแยกพิจารณาได้ ดังนี้
1.ดาวเคราะห์(Planets)เป็นดวงดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง แต่แสงสว่างที่เราเห็นเป็นแสงสว่างที่สะท้อนมาจากดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวโลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน และดาวพลูโต

2.ดาวบริวาร(Satellites)ลักษณะคล้ายดวงจันทร์ที่เป็นดาวบริวารของโลก ซึ่งในระบบสุริยะจักรวาลมีจำนวนมากกว่า 30 ล้านดวง

3.ดาวเคราะห์น้อย(Asteroids)เป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 800 กิโลเมตร เช่น ดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ระหว่างที่ว่างของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี มีจำนวนดวงดาวประมาณ 1,800 ดวง ซึ่งเป็นดวงดาวที่พบเป็นส่วนมาก รองลงมา ได้แก่ ดาวเคราะห์น้อยที่พบระหว่างดวงอาทิตย์และดาวพุธ

4.ดาวหาง(Comets) มีส่วนหัวประกอบไปด้วยน้ำแข็ง ฝุ่น และอนุภาคของแข็งต่างๆ และมีก๊าซแข็ง เป็นไอห่อหุ้มใจกลางไว้ มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 100 ไมล์ เมื่อโคจรมาใกล้ดวงอาทิตย์ ความร้อนจากดวงอาทิตย์จะทำให้น้ำแข็งละลาย และฝุ่นก๊าซต่างๆ ลดลง

5.ดาวตก(Meteorite) เป็นเทห์ฟากฟ้าขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในระบบสุริยะจักรวาล ส่วนที่เหลือตกลงมาสู่พื้นโลกเราเรียกว่า อุกกาบาต ดาวตกเรียกอีกอย่างว่าผีพุ่งใต้ เกิดเนื่องจากสะเก็ดดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ที่หลุดออกจากวงโคจรตามปกติ และเมื่อโคจรเข้ามาใกล้แรงดึงดูดของโลก จึงดูสะเก็ดดาวตกให้ตกผ่านชั้นบรรยากาศของโลกตกมายังโลก ระหว่างเคลื่อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศเข้ามายังโลกจะเกิดการเสียดสีเผาไหม้ ทำให้เมื่อมองด้วยตาเปล่าจะเห็นเป็นแสงสว่างลุกวาบบนท้องฟ้า ที่เราเห็นเป็นดาวตก หรือผีพุ่งใต้นั่นเอง

6. อุกกาบาต (Meteorites) เป็นดาวตกที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่หมดและตกลงมายังพื้นโลก ประกอบไปด้วย เหล็ก นิเกิล เป็นส่วนใหญ่ โลกของเรามีอุกกาบาตตกลงมามากมาย แต่หลุมอุกกาบาตที่มีขนาดใหญ่เท่าที่พบอยู่ที่รัฐอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา มีความกว้างประมาณ 4,660 ฟุต ลึกประมาณ 629 ฟุต เกิดจากการตกของอุกกาบาตที่มีขนาด 50,000 ตัน ที่ตกลงมายังโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น