วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

1. การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

ผลการเรียนรู้ "สืบค้นข้อมูล รวบรวมข้อมูล อธิบายและรายงาน การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง"

จุดประสงค์การเรียนรู้ 

1. สืบค้น สำรวจตรวจสอบ อภิปรายและอธิบายโครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
2. เปรียบเทียบลักษณะการเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
3. นำความรู้ที่รวบรวมได้มาสร้างสื่อเพื่อเผยแพร่


ทดสอบก่อนเรียน
คำสั่ง เลือก หรือ เติมคำตอบที่ถูกต้องที่สุด




ข้อที่ 1)

สัตว์ในไฟลัมใดเคลื่อนที่โดยอาศัย การหดตัวของเนื้อเยื่อ ที่ทำให้เกิดแรงดันของน้ำทำให้สามารถเคลื่อนที่ได้ ?
   พอริเฟอรา   ไนดาเรีย   มอลลัสกา   แพลทีเฮลมินทิส

ข้อที่ 2)

สัตว์ในไฟลัมใดเคลื่อนที่โดยอาสัยระบบ "ไซฟอน"
   พอริเฟอรา   ไนดาเรีย   มอลลัสกา   แพลทีเฮลมินทิส

ข้อที่ 3)

สัตว์ในไฟลัมใดเคลื่อนที่โดยอาศัยระบบกล้ามเนื้อวง กล้ามเนื้อตามยาว และกล้ามเนื้อบนล่าง ?
   พอริเฟอรา   ไนดาเรีย   มอลลัสกา   แพลทีเฮลมินทิส

ข้อที่ 4)

สัตว์ในไฟลัมใดสามารถเคลื่อนแบบหกคะเมนตีลังกาได้ ?
   พอริเฟอรา   ไนดาเรีย   มอลลัสกา   แพลทีเฮลมินทิส

ข้อที่ 5)

ถ้า 1 คือ สโตนแคแนล 2 คือ ริงแคแนล 3 คือ แมพูลลา 4 คือ ทิวบ์ฟีต 5 คือ มาดรีโพไรต์ 6 แลตเตอรอลแคแนล 7 คือ เรเดียลแคแนล ระบบท่อ    5 2 3 4 6 1 7   5 1 2 6 3 1 7   5 1 2 7 6 3 4   5 1 2 3 4 5 7


1. การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

           สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังส่วนมากจะมีระบบกล้ามเนื้อเป็นโครงร่างสำคัญของร่างกาย ในการเคลื่อนที่ ยกเว้นพวก
แมลงจะมีโครงร่างแข็งภายนอกช่วยในการเคลื่อนที่ การเคลื่อนที่ของสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังแต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่างกันดังต่อไปนี้

           1.1 การเคลื่อนที่ของสัตว์ในไฟลัมไนดาเรีย

           สัตว์ในไฟลัมนี้มีโครงร่างที่ช่วยในการเคลื่อนที่ เป็นเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ได่แก่ ไฮดรา แมงกะพรุน โอบิเลีย ซีแอนนิโมนี ปะการัง กัลปังหา การเคลื่อนที่ของสัตว์เหล่านี้อาจมีความแตกต่างกัน เช่น การเคลื่อนไหวของไฮดราซึ่งปกติจะพบว่ามันชอบเกาะอยู่กับที่ โดยใช้บาซัลดิส (basal dise) ติดอยู่กับสิ่งต่าง ๆ แล้วเคลื่อนไหวแต่เทนตาเคิลเพื่อจับอาหารหรือไม่ก็โยกตัวช้า ๆ เพื่อจับสัตว์เป็นอาหาร บางครั้งพบว่ามีการเคลื่อนที่โดยการลอยไปบางครั้งพบว่าไฮดรามีการเคลื่อนที่แบบหกคะเมนตีลังกา (somersault) ไปเรื่อย ๆ โดบใช้บาซัล ดิส เกาะติดกับพื้นแล้วโยนตัวลงไปพร้อมกับใช้เทนตาเคิลเกาะพื้นไว้อีกด้านหนึ่ง ต่อมาก็คลายตัวปล่อยทางด้านบาซัล ดิสออกแล้วโยกตัวม้วนส่วนบาซัล ดิส ไปเกาะพื้นในตำแหน่งถัดไป ซึ่งเป็นแบบม้วนตีลังกา หรือหกคะเมนตีลังกาดังภาพ
 
ภาพการเคลื่อนที่ของไฮดรา แบบหกคะเมนตีลังกา (somersault)
           ในบางครั้งพบว่าไฮดรามีการเคลื่อนไหวแบบตัวหนอน (measuring worm) โดยเอาส่วนบาซัลดิสยึดติดกับพื้นเอาไว้แล้วโยนตัวลงใช้เทนตาเคิลเกาะพื้นให้ห่างออกไปจากบาซัลดิสมากที่สุด แล้วค่อยเลื่อนบาซัลดิสเข้าไปติดกับเทนตาเคิล ต่อไปก็เลื่อนเทนตาเคิลให้ห่างจากบาซัลดิสให้มากที่สุดทำเช่นนี้เรื่อย ๆ ไป แมงกะพรุนเป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่อยู่ในพวกเดียวกับซีเลนเตอเรต ซึ่งเคลื่อนที่โดยอาศัยกล้ามเนื้อที่ขอบกระดิ่ง (circular muscle) หดตัวเป็นจังหวะค่อย ๆ โดยการควบคุมของใยประสาท (nerve net) ขณะหดตัวก็พ่นน้ำออกทางปากพร้อมกันไปด้วย ทำให้สามารถเคลื่อนไหวไปในทิศทางตรงข้ามได้ นอกจากนี้การเคลื่อนไหวของแมงกะพรุนยังอาศัยทิศทางการพัดพาของกระแสน้ำและคลื่นลม


ภาพแสดงการเคลื่อนที่ของแมงกะพรุน
           สำหรับพวกซีแอนนิโมนี ส่วนใหญ่จะใช้บาซัล ดิสเกาะติดอยู่กับพื้นทะเลมีแต่การหดและคลายตัวของเทนตาเคิลซึ่งเป็นลักษณะการโบกพัดจับสัตว์เป็นอาหาร แต่บางครั้งพบว่ามันใช้ส่วนบาซัล ดิสค่อย ๆ คืบคลานไปอย่างช้า ๆ ได้ด้วย
           1.2 การเคลื่อนที่ของพวกหนอนตัวแบน
           ในสัตว์พวกหนอนตัวแบน เช่น พลานาเรีย เคลื่อนไหวโดยอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อด้วยกัน 3 ชุด คือ กล้ามเนื้อวง (circular muscle) กล้ามเนื้อยาว (longitudinal muscle)  และกล้ามเนื้อบนล่าง (dorso-ventral muscle) ช่วยทำให้ลำตัวแบนและสามารถคืบคลานไปบนวัตถุใต้น้ำได้ ขณะที่พลานาเรียอยู่บนผิวน้ำจะเคลื่อนที่โดยอาศัยซิเลียที่อยู่ทางด้านล่างของลำตัวโบกพัด


ภาพแสดงกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของพลานาเรีย
           1.3 การเคลื่อนที่ของพวกหนอนตัวกลม

           สัตว์พวกหนอนตัวกลมมีการเคลื่อนไหวลักษณะบิดตัวไปมา ไม่สามารถคืบคลานได้เหมือนพวกหนอนตัวแบนทั้งนี้เนื่องจากมีระบบกล้ามเนื้อเพื่อช่วยในการเคลื่อนไหวเพียงชั้นเดียวเป็นกล้ามเนื้อตามยาว

ภาพภาพหนอนตัวหกลมในลำไส้คน

           1.4 การเคลื่อนที่ของพวกแอนนิลิด


           สัตว์พวกแอนนิลิดเคลื่อนที่โดยอาศัยระบบกล้ามเนื้อ 2 ชุด ช่วยในการเคลื่อนที่คือ กล้ามเนื้อวง และกล้ามเนื้อตามยาวทำงานประสานกันแบบแอนตาโกนิซึม เช่น การเคลื่อนที่ของไส้เดือนดินขณะกล้ามเนื้อวงหดตัว กล้ามเนื้อยาวคลายตัว ทำให้ไส้เดือนดินมีขนาดลำตัวเล็กและยาวออกไปแต่ถ้ากล้ามเนื้อวงคลายตัว กล้ามเนื้อตามยาวหดตัวจะเห็นบริเวณนั้นใหญ่ขึ้น และมีการทำงานสลับกันเป็นระรอกคลื่น และมีเดือย (setae) จิกพื้นเอาไว้เพื่อให้ยึดแน่นและสามารถดึงส่วนอื่น ๆ ตามไปด้วย แสดงกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของไส้เดือนดิน (ก) และลักษณะการทำงานของกล้ามเนื้อไส้เดือนขณะเคลื่อนที่
           ขณะไส้เดือนดินเคลื่อนที่จะใช้เดือยจิกดินเอาไว้เพื่อไม่ให้ส่วนท้ายของลำตัวเคลื่อนที่กล้ามเนื้อวงก็จะหดตัวและกล้ามเนื้อยาวคลายตัว ทำให้ลำตัวยืดยาวออก แล้วใช้เดือยกับส่วนหน้าสุดของปล้องแรกยึดส่วนหน้าของตัวเอาไว้ เมื่อกล้ามเนื้อวงคลายตัวและกล้ามเนื้อตามยาวหดตัว จะสามารถดึงส่วนท้ายของตัวเคลื่อนตามมาข้างหน้าได้ การหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อทั้งสองชุดจะต่อเนื่องกันคล้ายระลอกคลื่น โดยเริ่มจากบริเวณปลายด้านหน้าสุดมาสู่ปลายท้ายสุด



ภาพการเคลื่อนที่ของแอนนิลิด
           แม่เพรียง หรือ ไส้เดือนทะเล (clamworm) เป็นแอนนิลิดชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในรูตามชายฝั่งทะเลในตอนกลางวัน พอตกกลางคืนก็จะออกมาคืบคลานบนทรายหรือว่ายน้ำโดยอาศัยโครงสร้างที่อยู่ด้านข้างในแต่ละปล้องซึ่งมีลักษณะแบน ๆ ยื่นออกมาคล้ายใบพายเรียกว่า พาราโพเดียม (parapodium)  พาราโพเดียมจะมี 2 พู คือ  ดอร์ซัลโพเดียมโนโตโพเดียม (dorsal notopodium) และเวนทรัล นิวโรโพเดียม (ventral neuropodium) และแต่ละพูจะมีเดือยช่วยในการเคลื่อนไหว ภายในพาราโพเดียมจะมีกล้ามเนื้อที่ช่วยในการเคลื่อนที่ เรียกว่า กล้ามเนื้อออบลิค (oblique muscle)
           1.5 การเคลื่อนที่ของพวกมอลลัส และอาร์โธปอด
           มอลลัส หรือ อาร์โธปอดเป็นสัตว์ที่มีโครงร่างแข็งภายนอก (exoskeleton) นอกจากจะมีโครงร่างแข็งช่วยป้องกันอันตรายให้แก่อวัยวะภายในแล้วยังช่วยในการเคลื่อนที่ สัตว์พวกมอลลัสที่มีโครงร่างแข็งภายนอกได้แก่พวกหอย  เช่น หอยกาบ  จะมีระบบกล้ามเนื้อยึดติดกับกาบคือกล้ามเนื้อแอดดักเตอร์ (adductor muscle) และกล้ามเนื้อรีแทรกเตอร (retractor muscle)  ซึ่งยึดติดกับเอน (ligament) ที่ติดกับกาบทำหน้าที่ปิดเปิดกาบ  สำหรับการเคลื่อนที่ของหอยจะมีกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านล่างทำหน้าที่หดและคลายตัวทำให้หอยเคลื่อนที่ได้ เรียกกล้ามเนื้อนี้ว่า  เท้า (foot)  สำหรับการเคลื่อนที่ของหอยสองฝานอกจากจะอาศัยเท้าแล้วยังมีระบบท่อน้ำช่วยในการเคลื่อนไหว เช่นเดียวกันกับหมึก ซึ่งเป็นมอลลัสชนิดหนึ่ง  เคลื่อนที่โดยอาศัยการหดตัวของกล้ามเนื้อ และการพ่นน้ำออกมาจากระบบท่อน้ำที่ เรียกว่า ไซฟอน (siphon) ซึ่งอยู่บริเวณส่วนหัวด้านล่าง  ขณะที่น้ำถูกพ่นออกมาทางท่อไซฟอนจะเกิดแรงดันทำให้ตัวเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงข้าม และไซฟอนของหมึกนี้สามารถเลี้ยวเบนได้ทำให้เคลื่อนที่ได้หลายทิศทาง นอกจากนี้ในพวกหมึกยักษ์ยังมีหนวดช่วยในการเคลื่อนที่


ภาพที่ แผนภาพแสดงการเคลื่อนที่ของหมึก

           สัตว์พวกอาร์โธปอดมีระบบกล้ามเนื้อช่วยในการเคลื่อนที่คล้ายคลึงกันกับสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังคือ มีกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ทำหน้าที่ ดึงหัว อก ท้อง และรยางค์ต่าง ๆ ให้งอเข้าหากัน และมีกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ทำหน้าที่เหยียดตัวและรยางค์ต่าง ๆ ออกไป 
           โดยกล้ามเนื้อทั้งสองชนิดจะยึดติดกับโครงร่างแข็งภายนอก เมื่อเกิดการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อทั้งสองซึ่งทำงานประสานกันทำให้เกิดการเคลื่อนไหวได้ เรียกการทำงานของกล้ามเนื้อที่ทำงานตรงข้ามกัน นี้ว่า แอนตาโกนิซึม (antagonism) แมลงบางชนิดที่สามารถบินได้ อาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อที่ยึดติดระหว่างโคนปีกกับส่วนอกและกล้ามเนื้อตามยาวทำงานแบบแอนตาโกนิซึม คือ ขณะขยับปีก ในแมลงบางชนิดที่สามารถบินได้ อาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อที่ยึดติดระหว่างโคนปีกกับส่วนอก และกล้ามเนื้อตามยาว ซึ่งทำงานแบบแอนตาโกนิซึม คือ ขณะขยับปีกขึ้นกล้ามเนื้อยึดปีกที่อกหดตัว กล้ามเนื้อตามยาวคลายตัว เมื่อกล้ามเนื้อยึดปีกที่อกคลายตัวและกล้ามเนื้อตามยาวหดตัวทำให้ปีกกดลง



ภาพการทำงานของกล้ามเนื้อแมลงขณะยกปีกขึ้น (ก,ข) และขณะกดปีกลง (ค,ง)
              1.6 การเคลื่อนที่ของเอไคโนเดิร์ม

           สัตว์พวกเอไคโนเดิร์ม (echinoderm) เช่น ดาวทะเล ดาวเปราะ เม่นทะเล อีแปะทะเล อาศัยระบบทางเดินของน้ำ (canal) ที่ไหลอยู่ภายใน่รางกายระบบท่อน้ำส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยมีทางน้ำไหลเข้าอยู่ทางด้านหลังของดาวทะเลมีลักษณะคล้ายตะแกรงสำหรับกรองไม่ให้สิ่งอื่น ๆ เข้าไปนอกจากน้ำ เรียกทางน้ำเข้านี้ว่า มาดรีโพไรต์ (madreporite) จากนั้นน้ำก็จะไหลไปตามท่อน้ำที่มีลักษณะแข็ง เรียกว่า สโตนแคแนล (stone canal) แล้วจึงไหลไปตามท่อรอบๆ ปาก เรียกว่า ริงแคแนล (ring canal) จากริงแคแนลจะมีท่อแยกไปตามอาร์ม (arms) ทุกอันท่อนี้เรียกว่า เรเดียลแคแนล (radial canal) หรือเวสเซล (vessel) จากเรเดียลแคแนลก็มีท่อเล็กแยกออกทางด้านข้าง เรียกว่า แลเตอรอลแคแนล (lateral canal) ทำหน้าที่นำน้ำเข้าไปท่อด้านล่างที่ทำหน้าที่เหมือนเท้า เรียกว่า ทิวบ์ฟีต (tube feet) และท่อด้านบนที่มีลักษณะเป็นกระเปาะ เรียกว่า แอมพูลลา (ampilla) ที่ทำหน้าที่เก็บน้ำที่ไหลเข้ามา เมื่อเนื้อเยื่อของกระเปาะแอมพูลลาหดตัวก็จะดันน้ำไปยังทิวบ์ฟีตทำให้ทิวบ์ฟีตยืดออกไปจนปลายสัมผัสและยึดกับวัตถุใต้น้ำ  เมื่อกล้ามเนื้อทิวบ์ฟีตหดตัวบ้างและมีขนาดสั้นก็จะดันน้ำกลับเข้าสู่แอมพูลลาใหม่ จากการหดตัวของทิวบ์ฟีตพร้อม ๆ กันหลายอันสามารถทำให้ดาวทะเลสามารถเคลื่อนที่ไปได้ การเคลื่อนที่ของดาวทะเลโดยอาศัยทิวบ์ฟีตนั้นช้ามาก อาหารของดาวทะเลจึงเป็นพวกที่อยู่กับที่หรือเคลื่อนที่ได้ช้าๆ เช่น กุ้ง ปู หอย เป็นต้น และดาวทะเลสามารถเปิดเปลือกหอยได้โดยยื่นอาร์มทั้งหมดออกไปหุ้มตัวหอย และใช้ทิวบ์ฟีตยึดเกาะเอาไว้ จากนั้นจึงใช้โครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายตะขอเรียกว่า ซักเคอร์ (sucker) อยู่บนทิวบ์ฟีตดึงเปลือกหอยให้อ้าออกแล้วพ่นเอนไซม์ลงไปให้เปลือกหอยอ้าออกรวดเร็วทำให้ดาวทะเลสามารถกิยหอยได้


ภาพที่ 7-12 ระบบท่อน้ำของดาวทะเลและลักษณะการเคลื่อนไปของทิวบ์ฟีต


กิจกรรมที่ 2  การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

ชื่อ - สกุล .............................................ชั้น........................เลขที่.........

คำสั่ง ให้นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ อธิบาย เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของสัตว์ต่อไปนี้
      1. การเคลื่อนที่ของสัตว์ในไฟลัมไนดาเรีย หรือ พวกซีเลนเตอเรต
      2. การเคลื่อนไหวของพวกหนอนตัวแบน
      3. การเคลื่อนไหวของพวกหนอนตัวกลม4. การเคลื่อนไหวของพวกแอนนิลิด
      5. การเคลื่อนไหวของพวกมอลลัส และอาร์โธปอด
      6. การเคลื่อนไหวของพวกเอไคโนเดิร์ม


105 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณ ปณพร ม.6/10 เลขที่ 25

    ตอบลบ
  2. ผมจดย่อ อันนี้นะครับ
    นายจักรเพชร จั่นแพ ม.6/4 No.5

    ตอบลบ
  3. จดย่อแล้วคราฟ
    นาย จิรวัฒน์ เนตรเสนา ม.6/3 เลขที่ 5

    ตอบลบ
  4. นางสาวภาสุณีย์ คำพันธ์ ชั้น ม.6/2 เลขที่ 38

    ตอบลบ
  5. นางสาวสุวนันท์ กั้วนามน ม.6/2 เลขที่ 39

    ตอบลบ
  6. นางสาวเนตรนภา การจักร์ ชั้น ม.6/2 เลขที่ 37

    ตอบลบ
  7. นางสาวอัจฉราพร นิลผาย ม.6/2 เลขที่ 40

    ตอบลบ
  8. นางสาวณัฐสุดา สระทองแหยม ม.6/2 เลขที่34

    ตอบลบ
  9. นางสาวพรรนภา วิระชิด
    ม.6/2 เลขที่ 26

    ตอบลบ
  10. นางสาวพรรนภา วิระชิด
    ม.6/2 เลขที่ 26

    ตอบลบ
  11. นางสาวเพชรรัตน์ พรมเจริญ
    ม.6/2 เลขที่ 30

    ตอบลบ
  12. นางสาวปภัสสร ดอนพัฒน์
    ม.6/2 เลขที่ 18

    ตอบลบ
  13. นางสาววรรณนิภา ไร่ไสว ม.6/3 เลขที่ 24

    ตอบลบ
  14. นางสาวธัญญาเรศ ชมภูวิเศษ ม.6/2 เลขที่33

    ตอบลบ
  15. นางสาวรัชดามัย จันทะโสตถิ์
    ม.6/2 เลขที่ 28

    ตอบลบ
  16. นายอนุสิทธิ์ สุวงค์ฤทธิ์ ม.6/2 เลขที่10

    ตอบลบ
  17. นางสาวฐิติยาภรณ์ ตาสาโรจน์
    ม.6/2 เลขที่ 24

    ตอบลบ
  18. นายศักรินทร์ ราชครุฑ
    ม.6/2 เลขที่ 5

    ตอบลบ
  19. นางสาวธัญญลักษณ์ เทศารินทร์ ม.6/2 เลขที่ 36

    ตอบลบ
  20. นายกวิน นามุลทา ม.6/2 เลขที่ 11

    ตอบลบ
  21. นายภานุพงษ์ กาญจนวรางกูร
    ม.6/2 เลขที่ 12

    ตอบลบ
  22. นายนรากร ศิริกุล ม.6/2 เลขที่ 7

    ตอบลบ
  23. นางสาวอาภาพร สัตรัตน์ ม.6/2 เลขที่ 35

    ตอบลบ
  24. นางสาวรุ่งทิพย์ สาระโป ม.6/2 เลขที่ 27

    ตอบลบ
  25. นายธนพล สาวิมาตร ม.6/2 เลขที่ 7

    ตอบลบ
  26. นายเอกภพ สืบพิมพ์สุนนท์ ม.6/2 เลขที่ 9

    ตอบลบ
  27. นางสาววันทนีย์ โพธิคำภา 6/3 เลขที่ 34

    ตอบลบ
  28. นางสาวช่อทิพย์ ศรีวงษ์ ม.6/2 เลขที่ 15

    ตอบลบ
  29. นางสาวสุรีย์ภรณ์ คงอาจ ม.6/2 เลขที่ 20

    ตอบลบ
  30. นายมงคล ภู่พุ่ม ม6/2 เลขที่ 3

    ตอบลบ
  31. นางสาวจันทนา เนาท่าแค ม.6/4 เลขที่25

    ตอบลบ
  32. นางสาวอภิญญา ไพบูลย์ ม.6/4 เลขที่ 36

    ตอบลบ
  33. อารดา เขาวงษ์ ม.6/4 เลขที่ 37

    ตอบลบ
  34. นายสมัชชา อ่อนดี ม.6/4 เลขที่ 4

    ตอบลบ
  35. นางสาวอภิญญา ยัติสาร ม.6/3 เลขที่22

    ตอบลบ
  36. นางสาว ศิรประภา วงศ์ศิริ ม.6/3 เลขที่29

    ตอบลบ
  37. นางสาวจารุวรรณ ไพรัตน์ ม.6/4 เลขที่ 30

    ตอบลบ
  38. นายพรพจน์ มะโนมัย เลขที่ 11 ม.6/4

    ตอบลบ
  39. นางสาว วราภรณ์ พินิจการ ม.6/3 เลขที่26

    ตอบลบ
  40. นายเอกพัน ถวายพร ชั้น ม6/4 เลขที่ 6

    ตอบลบ
  41. นางสาววันวิสาข์ เรืองแสน ชั้น ม6/2 เลขที่ 13

    ตอบลบ
  42. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  43. นางสาวกนกพร ยองเพชร ชั้น ม.6/2 เลขที่ 30

    ตอบลบ
  44. นางสาวคติยา คำปลิว ชั้น ม. 6/2 เลขที่ 14

    ตอบลบ
  45. นางสาวบุญทิพย์ คาคำลุน ม.6/4 เลขที่23

    ตอบลบ
  46. นางสาวอมรรัตน์ ศรีภูมี ม.6/3 เลขที่ 19

    ตอบลบ
  47. นางสาววรรณิสา กั้วนามน ม.6/3 เลขที่ 21

    ตอบลบ
  48. นายนพดล วิเศษโวหาร 6/3 เลขที่13

    ตอบลบ
  49. นางสาววัชรี พันธ์ละออ ม.6/3 เลขที่27

    ตอบลบ
  50. นางสาวมุกดา ทวดอาจ ม.6/3 เลขที่ 18

    ตอบลบ
  51. นายอโณทัย ไชยนัด ม.603 เลขที่ 10

    ตอบลบ
  52. นาย เสถียร ภักดี เลขที่ 2 ม.6/3 คับ

    ตอบลบ
  53. นางสาวทัศพร วรรโนมัย เลขที่ 31 ม.6/3

    ตอบลบ
  54. ผมนายจักรกฤษณ์ ภูสีดาวรายงานตัวคับ

    ตอบลบ
  55. นาย ไกรวุฒิ สีสิงห์ ม.6/3 เลขที่ 11

    ตอบลบ
  56. นายธนบดี มาตเลียม ชั้น ม.5/3 เลขที่ 8
    อ่านแล้วครับ

    ตอบลบ
  57. นาย เจนณรงค์ โพระกัน เลขที่ 12 603

    ตอบลบ
  58. นายภานุเดช มยุโรวาส ม.6/3 เลขที่9

    ตอบลบ
  59. ภัครจิรา คณะทิพย์ 6/3 เลขที่20

    ตอบลบ
  60. สุวนันท์ สหะชัย 6/3 เลขที่28

    ตอบลบ
  61. อรุณี โกษา 6/3 เลขที่36

    ตอบลบ
  62. นางสาวมินตรา ตุงคุนะ ม.6/2 เลขที่ 24

    ตอบลบ
  63. นางสาวอรทัย เอื้อศิลป์ ม.6/4 เลขที่18

    ตอบลบ
  64. นางสาวอภิรุจี วงศ์ปัญญา
    ม.6/2 เลขที่ 29

    ตอบลบ
  65. นางสาววริศรา สังวรจิตร
    ม.6/2 เลขที่ 28

    ตอบลบ
  66. นายวัชรพงษ์ วงไชยา
    ม. 6/2 เลขที่ 4

    ตอบลบ
  67. นางสาวดารณี ทุมแก้ว เลขที่22 ม.6/2

    ตอบลบ
  68. นางสาววรรณิดา สีลา เลขที่ 32 ม.6/3

    ตอบลบ
  69. นายอโณทัย ไชยนัด เลขที่ 10 ม. 6/3

    ตอบลบ
  70. นางสาวปิยะธิดา แสนสะท้าน เลขที่40 ม.6/4

    ตอบลบ
  71. นางสาวลัดดาวัลย์ รัตนศรี ชั้น ม.6/4 เลขที่ 38

    ตอบลบ
  72. นางสาวปิยวรรณ จันทร์เสนา ม.6/3 เลขที่ 15

    ตอบลบ
  73. นายนเรศ โพธะศรี ม.6/2 เลขที่ 1

    ตอบลบ
  74. ชมพูนุช โคตรเสนา เลขที่12 ม.6/7

    ตอบลบ
  75. นางสาวณัฐวิภา ศรีสองเมือง ม.6/3 เลขที่ 30

    ตอบลบ
  76. นางสาว รุ่งลาวัลย์ ไพรรัตน์ ม. 6/7 เลขที่ 21

    ตอบลบ
  77. นางสาวจรัสศรี สุกสีกี ม.6/7 เลขที่ 20

    ตอบลบ
  78. นางสาววรรณิษา โพธิสาร ม.6/7 เลขที่ 26

    ตอบลบ
  79. นางสาวจันทิมาพร ลุนศรี ม.6/7 เลขที่ 31

    ตอบลบ
  80. นางสาวธาราทิพย์ ขจรสัตย์ ม.6/7 เลขที่ 30

    ตอบลบ
  81. นายวิโรจน์ คำมะภา เลขที่10 ชั้น ม.6/4

    ตอบลบ
  82. นายสัตยา ภูทองโปง เลขที่ 9 ม6/4

    ตอบลบ
  83. นางสาวกฤติยาภรณ์ ไกยสิทธิ์ เลขที่ 29 ม.6/7

    ตอบลบ
  84. นางสาวชวัลนุช พุทธชาติ ชั้น ม.6/4 เลขที่ 33

    ตอบลบ
  85. ่นายธนบดี มาตเลียม ม.6/3 เลขทีี่ 8 ครับ

    ตอบลบ
  86. นาย จีรสิทธิ์ ภูทะวัง ม.6/7 เลขที่ 3

    ตอบลบ
  87. นาย ไกรวุฒิ สีสิงห์ ม.6/3 เลขที่ 11

    ตอบลบ
  88. นางสาวจารุวรรณ ไพรัตน์ ม.6/4 เลขที่ 30

    ตอบลบ
  89. นายพนัส เยี่ยมศิริ ม.6/2 เลขที่ 2

    ตอบลบ
  90. นางสาวอรอินทิรา สารจันทร์ เลขที่ 19 ม.6/2

    ตอบลบ
  91. นางสาวจินตรัตน์ เขตอนันต์ ม.6/2 เลขที่ 30

    ตอบลบ
  92. นางสาวศรีสุดา มิ่งคำ ม.6/7 เลขที่ 19

    ตอบลบ
  93. นางสาวชลดา เรืองศรีจันทร์ ม.6/7 เลขที่ 35

    ตอบลบ
  94. นางสาวอรทัย. มานพ. ชั้นม.6/4. เลขที่ 15

    ตอบลบ
  95. นายภานุพงศ์ วิชาพล ม.6/4 เลขที่ 8

    ตอบลบ
  96. นางสาวคติยา คำปลิว ม.6/2 เลขที13

    ตอบลบ
  97. นางสาวกนกพร ยองเพชร ม.6/2 เลขที่29

    ตอบลบ
  98. นายเอกพันธ์ ถวายพร ม.6/4 เลขที่6

    ตอบลบ
  99. นาย ภานุเดช มยุโรวาส ม.6/3 เลขที่ 9

    ตอบลบ
  100. นางสาว อรทัย แซลี ม.6/3 เลขที่35

    ตอบลบ
  101. น.ส. สุวนันท์ สหะชัย ม.6/3 เลขที่ 28

    ตอบลบ