บทสุดท้าย
1. การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
1. การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวมีการสืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ
การไม่อาศัยเพศส่วนใหญ่เป็นการแบ่งเซลล์เป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน เช่น อะมีบา สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวบางชนิดสืบพันธุ์โดยการแตกหน่อ
เช่น ยีสต์
2. การสืบพันธุ์ของสัตว์
การสืบพันธุ์ของสัตว์มีทั้งการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศในสัตว์ที่มีโครงสร้างของร่างกายไม่ซับซ้อนและมีความสามารถในการงอกใหม่
เช่น พลานาเรีย ดาวทะเล สัตว์พวกนี้สามารถสืบพันธุ์โดยวิธีการงอกใหม่ การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเกิดจากการปฏิสนธิของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้หรืออสุจิกับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียหรือเซลล์ไข่ซึ่งอาจเกิดภายในหรือภายนอกเพศเมียก็ได้เซลล์ไข่ที่ได้รับการผสมเรียกว่า
ไซโกต2. การสืบพันธุ์ของสัตว์
2.1 การสืบพันธุ์แบบอาศัยไม่เพศ
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เป็นการสืบพันธุ์แบบที่ไม่จำเป็นจะต้องมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ เพียงแต่สร้างตัวจำลองตนเอง
โดยมีคุณสมบัติและพันธุกรรมเหมือนตัวเดิมทุกประการ คือ มีการแสดงออกหรือฟีโนไทน์เหมือนเดิมและลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันทุกประการ
การสืบพันธุ์แบบนี้มีหลายวิธีการสืบพันธุ์แบบไม่มีเพศ ได้แก่
1. การแบ่งแยก (FISSION) เป็นการ สืบพันธุ์แบบไม่มีเพศของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น โพรโทซัว แบคทีเรีย ยีสต์ และสาหร่าย ระหว่างที่มีการแบ่งแยกจะมีการแบ่งสารพันธุกรรมด้วย ขบวนการนี้แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.1 แบ่งแยกเป็นสอง
(BINARY FISSION) จากหนึ่งเซลล์แบ่งได้เป็น
2 เซลล์ และ 4 เซลล์ต่อไปเรื่อยๆ กระบวนการแบ่งออกเป็น
2 ส่วนของอะมีบา มีดังต่อไปนี้
1) นิวเคลียสแบ่งตัวแบบไมโทซิสได้เป็น
นิวเคลียสใหม่ขนาดเท่ากัน 2 อัน
2) ไซโทพลาซึม จะคอดกลางขาดออกเป็น 2 ส่วน แต่ละส่วนมีหน่วยนิวเคลียสและเจริญเติบโตต่อไป กระบวนการแบ่งออกเป็น 2 ส่วนของ พารามีเซียม ( Paramecium) มีกระบวนการแบ่งออกเป็น 2 ส่วนของ พารามีเซียมมีดังนี้
พารามีเซียมมีนิวเคลียส 2 อัน คือ มาโครนิวเคลียส (Macronucleus) และ ไมโครนิวเคลียส (Micronucleus)
1) มาโครนิวเคลียส จะแบ่งตัวแบบอะไมโทซิส (Amitosis) ได้ 2 นิวเคลียส และในขณะเดียวกันไมโครนิวเคลียสจะแบ่งตัวแบบไมโทซิสได้เป็น 2 นิวเคลียส เช่นกัน
2) เยื่อหุ้มเซลล์จะคอดเข้าตรงกลางบริเวณร่องปาก จึงจัดเป็นการแบ่งตัวตามขวาง (Transverse binary fission) กลายเป็นพารามีเซียม 2 เซลล์ ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมพารามีเซียม จะแบ่งตัว ประมาณวันละ 4 ครั้ง และใช้เวลาแบ่งครั้งละประมาณ 2 ชั่วโมง
กระบวนการแบ่งออกเป็น 2 ส่วนของ ยูกลีนา มีดังนี้
1) เซลล์ยูกลีนา
2) นิวเคลียสจะแบ่งไมโทซิสได้เป็น 2 นิวเคลียสขนาดเท่า ๆ กัน แฟลเจลลา จะแบ่งตัวตามยาวเป็น 2 เส้น 3) เยื่อหุ้มเซลล์จะแบ่งจากบริเวณส่วนหัวตามความยาวของเซลล์ ทำให้ไซโทพลาซึมเป็น 2 ส่วน จึงมีการแบ่งตัวตามยาว (Longitudinal binary fission) เพราะฉะนั้น
ในบางครั้งจึงอาจพบว่ายูกลีนา มี 2 หัว กำลังว่ายน้ำ
1.2 การแบ่งแยกทวีคูณ (MULTIPLE FISSION) นิวเคลียส จะมีการแบ่งแบบ ไมโตซีสหลายครั้งได้นิวเคลียสหลายอัน แล้วจึงแบ่งไซโตพลาซึมได้เป็นหลายเซลล์จะเกิดในพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
เช่น ในเชื้อมาเลเรียบางระยะและในอมีบาบางชนิดในระยะเป็นตัวหนอนของฟองน้ำและปลาดาวบางชนิด
2. การแตกหน่อ (BUDDING) การสืบพันธุ์แบบนี้
หน่อเดิมจะมีการแบ่งเซลล์ได้หน่อใหม่ (BUD) เกิดขึ้นและยังติดอยู่กับหน่อเดิม
มีรูปร่างเหมือนหน่อเดิม แต่มีขนาดเล็กกว่า การแตกหน่อพบได้ในพืชเซลล์เดียว เช่น ยีสต์
ในพืชหลายเซลล์ เช่น มาร์เเชนเทีย (MARCHANTIA) ซึ่งเป็นพืชชั้นต่ำพวกตะไคร่ชนิดหนึ่ง
(หรือเรียกลิเวอร์เวิธ) และต้นตีนตุ๊กแก ต้นตายใบเป็น ส่วนในสัตว์หลายเซลล์
ได้แก่ไฮดรา
การแตกหน่อ เป็นการสืบพันธุ์ที่สิ่งมีชีวิตหน่วยใหม่
เจริญจากเซลล์เดิมหรือกลุ่มเซลล์เรียกว่า หน่อ(Bud)ได้ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่มีลักษณะเหมือนตัวเดิม
แต่มีขนาดเล็กกว่า แล้วจะหลุดออกจากตัวเดิมเพื่อเติบโตต่อไป พบในยีสต์ พืชชั้นสูง
เช่น แหน กล้วยไม้ สัตว์ เช่น แมงกะพรุน, ไฮดรา, ฟองน้ำ
บางครั้งสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวก็มีพฤติกรรมการสืบพันธุ์คล้ายการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
เช่น ไฮดรา พารามีเซียม3. การหัก (FRAGMENTATION) การสืบพันธุ์แบบนี้ชิ้นส่วนของพ่อแม่จะแยกออก แล้วเจริญเป็นสิ่งมีชีวิตใหม่ ได้แก่ ฟองน้ำ ดอกไม้ทะเล
4. การสร้างใหม่ (REGENERATION) การสืบพันธุ์แบบสร้างใหม่คล้าย การหัก แต่ต่างกันตรงที่การสร้างใหม่เป็นการเจริญเพื่อซ่อมแซมส่วนที่ขาดหายไป เนื่องจากได้รับความเสียหายจากภายนอก วิธีนี้สิ่งมีชีวิตที่ถูกตัดออกเป็นชิ้นๆแต่ละชิ้นจะสามารถงอก เป็นสิ่งมีชีวิตใหม่ได้ เช่น ในชิ้นส่วนของพืชเกือบทุกชนิด ในไส้เดือนดิน ฟองน้ำไฮดรา และปลาดาว พลานาเรีย ซึ่งเป็นหนอนตัวแบนชนิดหนึ่ง เมื่อถูกตัดออกเป็นท่อนๆแต่ละท่อนจะเจริญเป็นตัวที่สมบูรณ์ได้
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของผึ้ง
ถ้าไข่ได้รับการปฏิสนธิกับตัวอสุจิได้ ไซโกต จะเจริญเป็นผึ้งตัวเมียเท่านั้น
อาจเป็นผึ้งราชินีหรือผึ้งนางพญา (Queen) และผึ้งงาน
(Worker) โครโมโซมของผึ้งตัวเมียจึงเป็นดิพลอยด์ (2 n)
ถ้าไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิกับตัวอสุจิ
ไข่นั้น จะเจริญเป็นผึ้งตัวผู้ (Drone) ซึ่งเรียกว่า
พาร์ทีโนจีนีซิส (Parthenogenesis) โครโมโซมของผึ้ง ตัวผู้ จึงเป็น แฮพอยด์ (n) เสมอ
ภาวะปกติ ตั๊กแตนกิ่งไม้, ไรน้ำ, เพลี้ย ไข่จะเกิดพาร์ทีโนจีนีซีสจะได้เป็นตัวเมีย
พาร์ทีโนจีนีซิส (Parthenogenesis) โครโมโซมของผึ้ง ตัวผู้ จึงเป็น แฮพอยด์ (n) เสมอ
ภาวะไม่เหมาะสม ไข่เจริญเป็นทั้งตัวผู้และตัวเมียเท่าๆ กัน และมาปฏิสนธิกันแล้วตัวเมียจะให้ไข่ที่มีความคงทนต่อสภาวะแวดล้อมที่แห้งแล้งขาดแคลนอาหารและไข่จะฟักเป็นตัวดำเนินชีวิตตามปกติต่อไป
การปฏิสนธิภายนอก
เป็นการปฏิสนธิของสัตว์น้ำ ทั้งพวกที่ไม่มีกระดูกสันหลัง และมีกระดูกสันหลัง
เช่น กบ เขียด ปลา
ตัวอสุจิสามารถว่ายน้ำไปหาไข่ได้ถูกต้อง เพราะได้รับสารเคมีของไข่ที่ปล่อยออกไปในน้ำ
เพศผู้มักปล่อยตัวอสุจิออกมาครั้งละมากๆและ ไม่ห่างจากไข่มากเกินไป
การปฏิสนธิภายใน
เป็นการปฏิสนธิที่เกิดขึ้นภายในอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมียพบทั้งในสัตว์น้ำ สัตว์บกที่มีกระดูกสันหลัง และไม่มีกระดูกสันหลัง ตัวอ่อนเจริญเติบโตภายในไข่นอกตัวแม่โดยแม่ จะวางไข่ออกมาหลังจากได้รับการปฏิสนธิแล้ว เรียกว่า โอวิพารัส (Oviparous) ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตภายในตัวของแม่ และแม่จะออกลูกเป็นตัว สัตว์พวกนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1.
โอโววิวิพารัส (Ovoviviparous) คือสัตว์พวกที่ตัวอ่อนเจริญโดยอาศัยอาหารที่สะสมไว้ในไข่แดงเช่น
ปลาฉลาม
2.
วิวิพารัส (Viviparous) คือสัตว์พวกที่ตัวอ่อนเจริญโดยอาศัยอาหารจากแม่โดยผ่านทางรก
เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทั้งหลาย ยกเว้น ตุ่นปากเป็ดและตัวกินมด (คล้ายเม่น) 5. การสร้างสปอร์ สปอร์จัดเป็นหน่วยสืบพันธุ์อย่างหนึ่ง ปกติสปอร์มักจะมีผนังหนา จึงทนทานต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ความแห้งแล้ง นอกจากนี้สปอร์ยังมีขนาดเล็ก เหมาะที่จะกระจายไปในอากาศ เมื่อสิ่งแวดล้อมเหมาะสมจะปล่อยสปอร์เป็นจำนวนมาก ในพวกเห็ดราบางชนิด สปอร์เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์แบบไม่มีเพศ และแบบมีเพศในพืชพวกเมทาไฟตา มีการสร้างสปอร์ซึ่งเป็นช่วงหนึ่งของการสืบพันธุ์แบบสลับด้วย
2. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
เป็นการสืบพันธุ์แบบที่ต้องมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ที่มีโครโมโซมเป็นแฮพลอยด์ (haploin) เป็นเซลล์ที่ได้มาจากการแบ่งตัวแบบไมโอซิสของเซลล์ spermatogonium (2n) หรือ oogonium (2n) การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นภายหลังที่เซลล์สืบพันธุ์มีการปฏิสนธิจากเพศตรงข้าม
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของสัตว์คือจะต้องมีการผสมระหว่างเซลล์สืบพันธุ์ของเพศผู้ที่เรียกว่า ตัวอสุจิ และเซลล์สืบพันธุ์ของเพศเมียที่เรียกว่า ไข่ เมื่อสัตว์โตเต็มที่และพร้อมที่จะสืบพันธุ์แล้ว เพศเมียจะสร้างไข่ และเพศผู้จะสร้างอสุจิ ไข่และตัวอสุจิของสัตวืแต่ละชนิดจะมีขนาดและจำนวนต่างๆกันไป โดยทั่วไปไข่จะมีลักษณะกลมหรือรี เคลื่อนที่ไม่ได้ และมักมีอาหารสะสมอยู่เพื่อไว้เลี้ยงตัวอ่อนที่อยู่ภายใน เช่น ไข่แดงของไข่ไก่ ไข่เป็ด นอกจากนี้ยังมีสิ่งห่อหุ้มเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นวุ้น เช่น ไข่กบ หรือมีลักษณะเป็นเยื่อเหนียว เช่น ไข่เต่าทะเล บางชนิดมีเปลือกแข็งหุ้ม เช่น ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่จระเข้ สำหรับตัวอสุจิจะมีขนาดเล็กกว่าไข่มาก และมักมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า และจะเคลื่อนที่ได้เร็วเพราะมีส่วนหางช่วยในการเคลื่อนที่เพื่อสะดวกในการเข้าผสมกับไข่ เมื่อตัวอสุจิผสมกับไข่จะเกิดการ ปฏิสนธิ ขึ้น ถ้าตัวอสุจิจากสัตว์เพศผู้เข้าผสมกับไข่ซึ่งยังอยู่ในตัวของสัตว์เพศเมีย เราเรียกการปฏิสนธิแบบนี้ว่า การปฏิสนธิภายใน แต่ถ้ามีการผสมระหว่างไข่และตัวอสุจิภายนอกตัวของสัตว์เพสเมีย เราเรียกว่า การปฏิสนธิภายใน ปัจจุบันการเลี้ยงปลากัดเป็นที่นิยมมากขึ้น
เมื่อปลาตัวเมียท้องโตขึ้นเรื่อยๆจนท้องแก่เต็มที่ เมื่อนำมาไว้รวมกับปลาตัวผู้ ปลาทั้งสองเพศจะไม่กัดกัน ตัวผู้จะทำหวอดไว้ตามขอบตู้ปลาและตามพืชน้ำที่ใส่ไว้ จากนั้นจะไล่รัดตัวเมีย เมื่อปลากัดตัวเมียถูกตัวผู้รัดจะปล่อยไข่ออกมา ตัวผู้จะปล่อยอสุจิออกมาด้วย จากนั้นจะคลายการรัดแล้วจึงเริ่มรัดใหม่ ดังนั้นไข่ที่ออกมาจึงออกมาเป็นชุดๆจนหมด ขณะที่ตัวเมียออกไข่แต่ละชุด ตัวผู้จะรีบเข้าไปอมไข่นำไปคายใส่ไว้ในหลอด เมื่อตัวเมียออกไข่หมดแล้ว จะสังเกตจากตัวผู้เริ่มหวงไข่ และเริ่มไล่กัดตัวเมีย ให้แยกตัวเมียออกไปเลี้ยงที่ภาชนะอื่น ไม่เช่นนั้นตัวเมียจะกินไข่หมด ตัวผู้จะเฝ้าดูแลไข่จนฟักเป็นลุกปลาตัวเล็กๆ จึงแยกตัวผู้ออก ไม่เช่นนั้นตัวผู้จะกินลูกปลาหมด
การปฏิสนธิภายนอกนั้นต้องอาศัยน้ำเป็นตัวกลางให้ตัวอสุจิเคลื่อนที่เข้าไปผสมกับไข่ได้และการปฏิสนธิแบบนี้ต้องอาศัยการบังเอิญ ดังนั้นแม้ว่าปลาที่มีการปฏิสนธิภายนอกจะวางไข่จำนวนมาก แต่ก็มีไข่เพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่ได้รับการผสม
ปลาบางชนิดออกลูกเป็นตัว เช่น ปลาเข็ม ปลาหางนกยูง ปลาฉลาม ซึ่งจะเป็นการปฏิสนธิภายใน โดยปลาตัวผู้จะปล่อยอสุจิเข้าไปในร่างกายของปลาตัวเมียที่มีไข่สุกอยู่ภายในร่างกาย ตัวอสุจิจะเข้าผสมกับไข่ เมื่อไข่ได้รับการผสมแล้วจะเจริญเติบโตเป็นลูกปลาต่อไปจนครบกำหนดคลอด สัตว์ที่วางไข่บนบกทุกชนิด และสัตว์ที่ออกลุกเป็นตัวมีการปฏิสนธิภายในทั้งสิ้น หลังจากมีการปฏิสนธิสัตว์บางชนิดจะวางไข่ซึ่งมีเปลือกหุ้มไว้ในที่ที่เหมาะสม เพื่อให้ไข่ได้รับการผสมและเจริญเติบโตเป็นตัวต่อไป ส่วนสัตว์ที่ออกลุกเป็นตัว เมื่อไข่ได้รับการผสมแล้ว ก็ยังจะเจริญเติบโตอยู่ในตัวแม่ต่อไป จนถึงกำหนดคลอดจึงคลอดออกมาเป็นลุกสัตว์และเติบโตต่อไป ระยะเวลาของการเจริญเติบโตของสัตว์แต่ละชนิดจะแตกต่างกัน
การสืบพันธุ์ของสัตว์ (Animal
Reproduction)
การสืบพันธุ์ของสัตว์เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการผลิตสัตว์ทุกชนิด
ถ้าสัตว์ไม่สามารถสืบพันธุ์ตามปกติได้จะทำความเสียหายให้กับการเลี้ยงสัตว์ข้นได้อย่างมหาศาล
และส่งผลกระทบกระเทือนโดยตรงต่อเจ้าของกิจการและสังคมส่วนรวม เพราะอาหารของมนุษย์ ได้แก่
เนื้อ นม และไข่ เป็นผลโดยตรงจากการสืบพันธุ์ของสัตว์ทั้งสิ้นความสำคัญของการสืบพันธุ์ในการผลิตสัตว์ ( Relation of Animal Reproduction to Livestock Production )
ในการเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ และในการผลิตสัตว์เพื่อเป็นการค้า เมื่อพิจารณาอย่างกว้างๆจะพบว่าเราได้กำหนดหน้าที่ของพ่อแม่พันธุ์ไว้แล้ว กล่าวคือ ในพ่อพันธุ์ มีหน้าที่ในการผสมพันธุ์กับแม่พันธุ์ให้มีเปอร์เซ็นการผสมติดสูง และถ่ายทอดลักษณะทางกรรมพันธุ์ (Genetic traits)ที่ดีลงไปให้ลูกโดยผ่านทางอสุจิ เพื่อให้ลูกที่เกิดมาสมบรูณ์แข็งแรง ให้ผลผลิตสูงตามเผ่าพันธุ์ของพ่อ ส่วนทางแม่ มีหน้าที่คล้ายคลึงกับพ่อพันธุ์ นั่นคือ การอุ้มท้อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ดีผ่านทางไข่ไปสู่ลูก นอกจากนี้ แม่พันธุ์จะต้องออกลูกดกในกรณีของสัตว์ที่ออกลูกเป็นครอก เช่น สุกร หรือให้ไข่ดกในกรณีของสัตว์ปีก และให้ลูกอย่างสม่ำเสมอ เช่น ในโค-กระบือควรจะให้ลูกปีละ 1 ตัว ไก่ปีละ 200 ตัว หรือสุกรปีละ 20ตัว
จากหน้าที่ของพ่อแม่พันธุ์ดังกล่าวข้างต้น เราจะพบว่าการสืบพันธุ์ของสัตว์จึงเกี่ยวข้องกับ
1. การออกไข่
2. การคลอดลูกให้มีชีวิตรอดและสมบูรณ์แข็งแรง
3. การให้นม
ซึ่งก็เป็นผลมาจากการสืบพันธุ์ทั้งสิ้น ดังนั้น ถ้าการสืบพันธุ์ของสัตว์ไม่สมบรูณ์หรือเกิดปัญหาขึ้น ย่อมจะทำให้กระทบกระเทือนโดยตรงต่อกำไลและขาดทุนของฟาร์ม และยังส่งผลกระทบกระเทือนไปถึงผลทางเศษฐกิจของประเทศชาติโดยส่วนรวมด้วย หรือในทางตรงกันข้าม ถ้าเราสามารถยกระดับการสืบพันธุ์ของสัตว์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นก็จะส่งผลดีกลับมาได้เช่นกัน
อวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์เพศผู้ (Male Reproductive Organs)
อวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์เพศผู้ มีหน้าที่ในการสร้างอสุจิที่สมบรูณ์พันธุ์(Fertility)สร้างสารละลายที่ช่วยหล่อเลี้ยงตัวอสุจิและป้องกันอันตรายจากสภาพแวดล้อมต่างๆ ช่วยนำส่งอสุจิออกสู่ภายนอกร่างกาย ผสมพันธุ์และขับฉีดน้ำเชื้อ(Semen)ที่มีตัวอสุจิอยู่เข้าไปยังจุดรองรับการผสมพันธุ์ในร่างกายของสัตว์เพศเมีย นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างฮอร์โมนเพศผู้ (Androgen) ด้วย
ส่วนประกอบที่สำคัญของอวัยวะเพศผู้
อัณฑะ (testis หรือ testes)ลักษณะรูปร่างกลมค่อนข้างรีในสัตว์ทั่วไป และคล้ายเมล็ดถั่ว หรือไต (Kidney shape)ในสัตว์ปีกมีอยู่เป็นคู่ ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมโดยทั่วไปจะห้อยอยู่ภายในถุงหุ้มอัณฑะ (Scrotum) นอกร่างกาย เพื่อประโยชน์ต่อการปรับอุณหภูมิร่างกายประมาณ 2-3 องศาเซลเซส ทำให้กระบวนการสร้างอสุจิ (Spermatogenesis) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มีท่อเชื่อม (Spermatic cord) กับอวัยวะภายในผ่านทางช่องท้อง (Inguinalcanal) ส่วนในสัตว์ปีกและช้าง อัณฑะจะอยู่ในช่องท้อง ไม่ออกมาข้างนอก อาการผิดปกติของอัณฑะเรียกว่า อัณพะทองแดง(Cryptochid)เป็นอาการที่อัณฑะไม่เคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในถุงหุ้มอัณฑะ (Scrotum) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จะทำให้เป็นหมันได้ ภายในอัณฑะจะพบองค์ประกอบที่แตกต่างกันอยู 2 ชนิด คือ
ก. ท่อเซมินิเฟอรัส (Seminiferous tubules) มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆขดไปมาภายในอัณฑะเต็มไปหมด
ข. เลยิกเซลล์ (Interstial cells หรือ Leydig cells) เป็นกลุ่มเซลล์ที่แทรกอยู่ระหว่างท่อ Seminiferous turbules มีอยู่ประมาณ 10% ของเซลล์ทั้งหมด
ส่วนประกอบภายในอัณฑะ
1. หลอดสร้างอสุจิ (Seminiferous tubules) เป็นท่อเล็กๆซึ่งแตละข้างของอัณฑะมีประมาณพันหลอด ทำหน้าที่สร้างอสุจิออกมาตามท่อที่เรียกว่า Rete testes เข้าสู่หลอดเก็บอสุจิ(Epididymis)
2. เซลล์อินเตอร์สติเชียล (Interstitial cells of leydig) เซลล์ที่แทรกอยู่ระหว่างหลอดสร้างอสุจิทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศ tesosterone
3. หลอดเก็บอสุจิ (Epididymis)เมื่ออสุจิถูกสร้างจากหลอดสร้างอสุจิแล้วจะถูกส่งไปเก็บไว้ในหลอดเก็บอสูจิ อสุจิจะเจริญเต็มที่ในหลอดนี้ใช้เวลา 1 เดือน หลอดนี้จะติดต่อกับท่อนำอสุจิ (Ves deferens)
4. ท่อนำอสุจิ ท่อปัสสาวะ และลึงค์ (Ves deferens, Urethra, Prenis) มีหน้าที่ร่วมกันในการส่งทีมีอสุจิอยู่ออกสู่ภายนอกร่างกาย ท่อนำอสุจิ (Ves deferens) เป็นท่อคู่เชื่อมระหว่างท่อเก็บอสุจิ (Epididymis)กับท่อปัสสาวะ (Urethra)ท่อนำส่งอสุจิจะขยายตัวเป็นกระเปาะ (Ampulla)บริเวณกระดูกเชิงกราน ที่กระเปาะนี้จะเป็นที่พักของตัวอสุจิ มีการผลิตอาหารสำหรับหล่อเลี้ยงอสุจิด้วย กระเปาะของท่อทั้ง 2 ข้าง
5. ต่อมน้ำกาม
ก. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิอสุจิ (Seminal vesicles) มี 2 ต่อม ทำหน้าที่สร้างอาหารและน้ำเลี้ยงให้แก่อสุจิ ต่อมนี้สร้างอสุจิหรือ Semen (ประกอบด้วยตัวอสุจิและของเหลว)ประมาณ 80%ของซีเมน ของเหลวต่อมนี้ได้แก่
- น้ำเลี้ยงอสุจิ (Seminal fluid)มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อน
- อาหารของอสุจิ ซึ่งรวมอยุ่กับน้ำเลียงอสุจิ ประกอบด้วย วิตามินซี ฟรุกโตส และโปรตีน ประเภทโกลบูลิน
ดังนั้นตัวอสุจิจะได้อาหารจากขบวนการเมแทโบลิซึมของอาหารดังกล่าว
ข. ต่อมลูกหมาก (Prostate gland) เป็นต่อม 1 ต่อม ที่อยุ่ล้อมรอบท่อฉีดอสุจิและตอนต้นของท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่ส้รางสารที่มีลักษณะคล้ายน้ำนมชนิดด่างอ่อนเพื่อทำลายฤทธิ์กรดปัสาวะหรือในช่องคลอดของผู้หญิงต่อมสร้างนี้สารออกมาประมาณ 15-20% ของน้ำอสุจิ ต่อมน้ำจะเพิ่มขนาดขึ้นตามวัย ทำให้โตกดท่อปัสสาวะ ถ่ายปัสสาวะไม่สะดวกต้องผ่าตัดต่อมออก
ค. ต่อมคาวเปอร์ (Cowper's gland หรือ Bulbo-Urethral gland)อยู่ใต้ต่อมลูกหมากลงไป เป็นกระเปาะเล็กๆทำหน้าที่สร้างสารหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะที่เกิดการกระตุ้นทางเพศ ต่อมนี้สร้างสรน้อยมากในการหลั่งน้ำอสุจิ (มีทั้งน้ำเลี้ยงอสุจิ (Seminal fluid)และตัวอสุจิรวมกันเรียกว่า น้ำอสุจิ หรือ Semen) ครั้งหนึ่งประมาณ 3 มล. จำนวนตัวอสุจิของชายปกติจะมีประมาณ 300-500 ล้านตัว ฉะนั้นผู้ที่มีจำนวนน้ำอสุจิต่ำกว่า 30 ล้านตัวต่อ ลบ.ซม. หรือ มีอสุจิที่มีรูปร่างผิดปกติมากอาจจะมีลูกได้ยาก อสุจิปกติจะเคลื่อนที่ได้รวดเร็วและมีอายุประมาณ 48 ชั่วโมงเมื่อเข้าไปในมดลูกหรือท่อนำไข่ การปฏิสนธิเกิดในบริเวณส่วนต้นของท่อนำไข่ (Oviduct)
4. ท่อนำอสุจิ (Vasdeferens) อยู่ต่อจากหลอดเก็บอสุจิ ทำหน้าที่นำอสุจิให้ผ่าน PENS และออกจากร่างกายทางการต่อเชื่อมระหว่างอัณฑะกับท่อนี้ ถ้าเป็นท่อจาก Semniferous tubule ไปเก็บที่หลอดเก็บอสุจิเรียกว่า Vas efferens
5. องคชาต(Penis)เป็นท่อกลวง และมีเนื้อเยื่อที่สามารถที่สามารถทำให้แข็งตัวได้ (Erectile tissue)เมือ่มีเลือดส่งเข้าไปคั่งอยู่ภายใน ซึ่งท่อปัสสวะและอสุจิจะออกทางท่อปัสสาวะ (Urethra)
การหลั่งน้ำอสุจิเป็นรีแฟลกซ์รับสัญญาณจากรีเซฟเตอร์ที่ gland penis ส่งไปยังสันหลังและมีคำสั่งตามประสาทพาราซิมพาเธติกทำให้กล้ามเนื้อท่ออสุจิหดตัว อสุจิออกมาพร้อมน้ำอสุจิ (SEMEN)ที่ประกอบด้วยอสุจิ น้ำเลี้ยงจากต่อมลูกหมาก ต่อม Cowper และจากต่อม Seminal vesicle
อวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์เพศเมีย (Female Reproductive Organs)
อวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์เพศเมียมีหน้าที่สร้างไข่ไว้รอบรับการผสมจากอสุจิ สร้างจากอาหารไว้หล่อเลี้ยงตัวอ่อน รองรับการผสมพันธุ์จากเพศผู้ นอกจากนี้ยังผลิตฮอร์โมนเพศเมีย (Estrogen)
ส่วนประกอบที่สำคัญของอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย
1. รังไข่(Ovary)ตั้งอยู่ภายในช่องท้องเป็นคู่ซ้ายขวาอยู่บริเวณเหนือมดลูก รังไข่ประกอบด้วยกระเปาะไข่ (Follies)ภายในไข่(Voum)เมื่อเกิดการตกไข่ (Ovulation)กระเปาะไข่จะฉีกออกให้ไข่ตกออกมาสู่ท่อทางเดินของอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศเมีย ส่วนรอยแผลฉีกขาดนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็น Corpusb Iuteum(CL)ซึ่งจะทำหน้าที่ผลิต Progesterone ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะช่วยทำหน้าที่คุ้มครองการตั้งท้อง CL มีเฉพาะในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้น
2. ท่อสืบพันธุ์อวัยวะเพศเมีย
ก. ปากแตร(Infundiblum)มีลักษณะ เป็นกรวยคล้ายปากแตร มีหน้าที่รองรับไข่ที่ตกออกมาจากรังไข่เมื่อเกิดการตกไข่
ข. ท่อนำไข่
(Oviduct)เป็นท่อที่ต่อกับ
Infundibulum ทำหน้าที่ให้ไข่ตกมาผ่านไปและเป็นจุดที่เกิดการปฏิสนธิ (Fertilizฟtion)ระหว่างไข่กับอสูจิ
ค. มดลูก (Uterus) แบ่งเป็น
2 ส่วน คือ ส่วนปีกมดลูก (Uterine horn)เป็นที่ฝังตัวของลูกอ่อน ในกรณีที่สัตว์ออกลูกเป็นครอก เช่น สุกร
หรือโค-กระบือ แม้ว่าจะออกลูกคราวละ 1-2 ตัว อีกส่วนหนึ่ง
คือ ตัวมดลูก (Uterine body)เป็นที่ฝั่งตัวของลูกอ่อนเช่นกัน
เช่น คน แต่คนในปีกมดลูกจะมีขนาดค่อนข้างเล็กและสั้นไม่ค่อยสำคัญในการตั้งท้อง ง. คอมดลูก (Cervix)หรือปากมดลูก เป็นกล้ามเนื้อแข้งแรง เมื่อสัตว์เกิดการตั้งท้องจะเกิดมีสารเหนียว (Muscous of pregnancy plug)มาอุดตันไว้เพื่อป้องกันเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมเข้าไปทำลายการตั้งท้อง
จ. ช่องคลอด (Vagina)มีลักษณะเป็นกระบอกกลวงที่หุบแฟบ มีเซลล์ประสาทรับความรู้สึกอยู่ค่อนข้างหนาแน่น เซลล์เหล่านี้จะช่วยผลิตน้ำเมือกหล่อลื่น
ฉ. ปากช่องคลอด (Vulva)ประกอบด้วยแคมใน (Labia minora)แคมนอก(Labia majiora) เม็ดละมุดหรือปุ่มกระสัน (Clitoris)ซึ่งเป็นที่ตั้งของต่อมบาโธลีน (Bartholin's glands)ซึ่งมีอยู่เป็นคู่ จะหลั่งน้ำหล่อลื่นออกมาปล่อยที่ผิวของแคมใน ทำให้ปากช่องคลอดและแคมในเปียกชื้นอยู่เสมอ เม็ดละมุน (Clitoris)ตั้งอยู่บนรอยต่อของแคมในกับ Vulva เป็นศูนย์รวมของประสาทสัมผัสในการผสมพันธุ์
Oogenesis
การเจริญของไข่ในรังไข่
บริเวณผิวชั้นนอกของรังไข่ (Cortex)จะมีฟองไข่(Oocyte) อยู่เป็นจำนวนมาก และมีจำนวนที่แน่นอนตั้งแต่สัตว์แรกเกิด แต่ยังไม่มีการเจริญพัฒนาขึ้น ต่อเมื่อสัตว์ถึงวัยสาว อิทธิพลของฮอร์โมน FSH(Follicle stimulating hormone)
จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior pituitary gland)จะเหนี่ยวนำให้ไข่เกิดเจริญพัฒนาไปตามลำดับ คือ จาก Primary follicle ซึ่งเป็นถุงที่ห่อหุ้มไข่อยู่และเป็นเวลล์ชั้นเดียว จะไปเป็น Secondary follicle ซึ่งมีเซลล์ล้อมหลายชั้น จนกลายเป็น Tertiary follicles ที่มีเซลล์หลายชั้นและเริ่มสะสมน้ำ ขณะที่ไข่ซึ่งอยู่ภายในยังมีการพัฒนาอย่างช้าๆจนสุดท้ายได้เป็น Matrue follice จะได้ช่องว่างภายในเรียกว่า Antrum สำหรับตัว Follicle จะมีเซลล์บุ 2ชั้น ชั้นนอกเรียกว่า Theca externa ส่วนชั้นในเรียกว่า Theca interna ซึ่งเวลล์ชั้นในนี้จะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศเมีย (Estrogen)ซึ่งจะส่งผลให้สัตว์แสดงออกการเป็นสัตว์ออกมา และEstrogen จะขึ้นสู่ระดับสูงสุดเมือ่เป็น Mature follicle ฮอร์โมน Estrogen ที่ผลิตขึ้นได้นี้จะบรรจุในช่องว่าง Antrun นั่นเอง เมื่อ Estrogen ขึ้นสูงสุดจะมีการเจริญพัฒนาของไข่จนแก่ตัวเต็มที่จะใช้เวลาเพียง 3 วัน หลังจากนั้น ฮอร์โมน LH (Luteinizing hormone)จากต่อมใต้สมองส่วนหน้าเช่นกันจะกระตุ้นให้ผนังของ Follice ฉีกขาด ไข่อยู่ภายใน (Ovum)ซึ่งมีเปลือกหุ้ม 2 ชั้น คือ ชั้นในเรียกว่า Vitelline membrane และชั้นนอกเรียกว่า Zona pellucida ก็จะตกออกมา แล้วตกลงยังปากแตร (Infundiblum)ที่รองรับอยู่ เซลล์ที่เหลือของ Follicle ซึ่งเป็น Granulosa cell ก็จะพัฒนาตัวเองไปเป็น Corpus Iuteum ต่อไป
ศึกษาเพิ่มเติม การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์
นายจิรวัฒน์ เนตรเสนา ม6/3 เลขที่ 5
ตอบลบนางสาวอัจฉราพร นิลผาย ม.6/2 เลขที่ 39
ตอบลบน.ส.เกศฤทัย จันทขึ้น ม.6/4 เลขที่17
ตอบลบน.ส.วรรณิดา สีลา เลขที่ 32 ม.6/3
ตอบลบนางสาวรุ่งทิพย์ สาระโป ม.6/2 เลขที่ 25
ตอบลบนายกวิน นามุลทาม.6/2 เลขที่ 10
ตอบลบนางสาวจตุพร ไชยปัญญา ม.6/7 เลขที่ 37
ตอบลบนายอนุสิทธิ์ สุวงค์ฤทธิ์ เลขที่ 9 ม. 6/2
ตอบลบนายวัชรพงษ์ วงไชยา เลขที่ 4 ม.6/2
ตอบลบนางสาวจินตรัตน์ เขตอนันต์ ม. 6/2 เลขที่ 30
ตอบลบนางสาวปิยะดา สุดาเดช ม.6/7 เลขที่ 17
ตอบลบนางสาวสุวนันท์ กั้วนามน ม.6/2 เลขที่ 38
ตอบลบนางสาวปาริชาติ พลตื้อ ม.6/7 เลขที่ 15
ตอบลบนางสาวทิพย์อุษา พลทามูล ม.6/7 เลขที่ 18
ตอบลบนางสาวลลิตา ถิ่นจำลอง ม.6/7 เลขที่ 24
ตอบลบนางสาวนิรชา อะโน เลขที่ ม. 6/7 เลขที่ 14
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบนางสาวอาภาพร สัตรัตน์ ชั้นม. 6/2 เลขที่ 34
ตอบลบนายพนัส เยี่ยมศิริ ม.6/2 เลขที่ 2
ตอบลบนาย ศักดิ์สิทธิ์ ชินตุ ม.6/2 เลขที่ 12
ตอบลบนางสาวณัฐสุดา สระทองแหยม 6/2 เลขที่33
ตอบลบนางสาวธัญญเรศ ชมภูวิเศษ 6/2 เลขที่32
ตอบลบนางสาวเพชรรัตน์ พรมเจริญ 6/2 เลขที่ 28
ตอบลบนางสาวภาสุณีย์ คำพันธ์ ชั้น ม.6/2 เลขที่ 37
ตอบลบนายนรากร ศิริกุล ชั้น ม.6/2 เลขที่ 7
ตอบลบนางสาวเนตรนภา การจักร์ ชั้น ม.6/2 เลขที่ 36
ตอบลบนางสาวช่อทิพย์ ศรีวงษ์ ม 6/2 เลขที่ 14
ตอบลบนายมงคล ภู่พุ่ม ชั้น ม.6/2 เลขที่ 3
ตอบลบนางสาวสุรีย์ภรณ์ คงอาจ ม 6/2 เลขที่ 19
ตอบลบนางสาวมินตรา ตุงคุนะ เลขที่ 25 ม. 6/2
ตอบลบนายนเรศ โพธะศรี เลขทีั่ 1 ม.6/2
ตอบลบนางสาวอรอินทิรา สารจันทร์ เลขที่19 ม.6/2
ตอบลบนางสาววริศรา สังวรจิตร เลขที่ 26 ม.6/2
ตอบลบนางสาวอภิรุจี วงศ์ปัญญา ม.6/2 เลขที่ 27
ตอบลบนายภานุพงษ์ กาญจนวรางกูร ม.6/2 เลขที่ 11
ตอบลบนางสาวดารณี ทุมแก้ว ม.6/2 เลขที่ 21
ตอบลบนางสาวจันทนา เนาท่าแค ม.6/4 เลขที่25
ตอบลบอารดา เขาวงษ์ ม.6/4 เลขที่ 37
ตอบลบนาย ไกรวุฒิ สีสิงห์ ม.6/3 เลขที่ 11
ตอบลบนางสาวธัญญลักษณ์ เทศารินทร์ เลขที่ 35 ม.6/2
ตอบลบนางสาวจินตรัตน์ เขตอนันต์ ม.6/2 เลขที่ 30
ตอบลบนางสาว รุ่งลาวัลย์ ไพรรัตน์ ม6/7 เลขที่ 21
ตอบลบนางสาวจรํสรี สุกสีกี ม.6/7 เลขที่ 20
ตอบลบนายอิทธิพล เพชรสังหาร ม.6/7 เลขที่ 2
ตอบลบนางสาววรรณิษา โพธิสาร ม.6/7 เลขที่ 26
ตอบลบนาวสาวจันทิมาพร ลุนศรี ม.6/7 เลขที่ 33
ตอบลบนาย เสถียร ภักดี เลขที่ 2 ม.603
ตอบลบนายสมัชชา อ่อนดี ม.6/4 เลขที่ 4
ตอบลบนางสาวธัญญลักษณ์ เทศารินทร์ ม.6/2 เลขที่ 35
ตอบลบนางสาวชลดา เรืองศรีจันทร์ ม.6/7 เลขที่ 35
ตอบลบนางสาวอรทัย เอื้อศิลป์ เลขที่ 18 ม.6/4
ตอบลบนางสาวภันทิลา บุตรวัง ม.6/4 เลขที่ 34
ตอบลบนางสาววันวิสาข์ เรืองแสน ชั้น ม .6/2 เลขที่ 32
ตอบลบนางสาววรรณนิภา ไร่ไสว เลขที่24 ชั้น ม.6/3
ตอบลบนางสาวทัศพร วรรโนมัย มใ6/3 เลขที่31
ตอบลบนางสาววันทนีย์ โพธิคำภา ม.6/3 เลขที่34
ตอบลบนางสาวมุกดา ทวดอาจ ม.6/3 เลขที่18
ตอบลบนายสิทธิพงษ์ ไชยสวาท ม.6/7 เลขที่ 1
ตอบลบนางสาวดาราวรรณ นีระพันธุ์ ม.6/4 เลขที่28
ตอบลบนายกฤษฎา แสนมหาชัย ม.6/7 เลขที่ 4
ตอบลบนางสาวพรรนภา วิระชิด
ตอบลบม.6/2 เลขที่ 22
นางสาวณัฐวิภา ศรีสองเมือง ม.6/3 เลขที่ 30
ตอบลบนางสาวช่อทิพา เขตบ้าน ม.6/3 เลขที่25
ตอบลบนางสาวฐิติยาภรณ์ ตาสาโรจน์ ม.6/2 เลขที่ 21
ตอบลบนางสาวภัครจิรา คระทิพย์ ม.6/3 เลขที่20
ตอบลบนายศักรินทร์ ราชครุฑ ม.6/2 เลขที่ 5
ตอบลบนางสาวกนกพร ยองเพชร ม.6/2 เลขที่29
ตอบลบนายเอกพันธ์ ถวายพร ม.6/4 เลขที่6
ตอบลบนาย จักกฤษณ์ ภูสีดาว เลขที่ 7 ม.6/3
ตอบลบนางสาว สุวนันท์ สหะชัย เลขที่ 28 ม.6/3
ตอบลบนายวิโรจน์ คำมะภา ม.6/4 เลขที่ 10
ตอบลบนางสาว อรุณี โกษา เลขที่37 ม.6/3
ตอบลบนายภานุพงศ์ วิชาพล ม.6/4 เลขที่ 8
ตอบลบนางสาวลัดดาวัลย์ รัตนศรี เลขที่ 38 ชั้น ม.6/4
ตอบลบนางสาวปิยะธิดา แสนสะท้าน เลขที่ 40 ชั้น ม.6/4
ตอบลบน.ส.วรรรณิศา จำปาหล่า เลขที่ 33 ม.6/3
ตอบลบน.ส.อรทัย แซ่ลี เลขที่ 35 ม.6/3
ตอบลบนายจิรวัฒน์ เนตรเสนา ม . 6/3 เลขที่ 5
ตอบลบนายนพดล วิเศษโวหาร ม.6/3เลขที่13
ตอบลบนางสาวอรุณี โกษา ม.6/3 เลขที่ 36
ตอบลบนาย กานต์ การคิด ม.6/3 เลขที่ 3
ตอบลบนางสาวอมรรัตน์ ศรีภูมี ม.6/3 เลขที่ 19
ตอบลบนางสาว อาภาพร เรืองสุวรรณ ม. 6/7 เลขที่ 36
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบ