วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ชื่อของสิ่งมีชีวิต

โดยปกติแล้วการเรียกชื่อของสิ่งมีชีวิต มีดังนี้ คือ
            1. ชื่อพื้นเมือง  เรียกตามท้องถิ่น
            2. ชื่อสามัญ (common name) คือ ชื่อที่เรียกกันทั่ว ๆ ไป อาจเรียกตามลักษณะรูปร่าง ถิ่นกำเนิดหรือสถานที่อยู่ก็ได้เช่น ปากกาทะเล หอยมุก เป็นต้น ซึ่งชื่อดังกล่าวอาจเรียกต่างกัน ในแต่ละที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้
ภาพที่ 20-6 คาโรลัส ลินเนียส
(ที่มา : http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Carolus-Linnaeus.png)


Carolus Linnaeus

            3. ชื่อวิทยาศาสตร์ (scientific name) คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งอนุกรมวิธาน เป็นคนกำหนดชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม(Binomail nomenclature) คือ ส่วนแรกเป็นส่วนของชื่อสกุล (generic name) ส่วนที่สองเป็นชื่อที่ระบุสปีชีส์ (Specific epithet) ทั้งสองส่วนต้องทำให้เป็นคำในภาษาลาตินเสมอและเป็นผู้เริ่มใช้เป็นคนแรก ชื่อจีนัสตัวแรกเขียนด้วยอักษรตัวใหญ่เสมอ ตัวแรกของสปีชีส์เป็นชื่อตัวเล็กธรรมดา ต้องเขียนให้ต่างจากอักษรอื่นเช่น คือ พิมพ์หรือเขียนจะต้องขีดเส้นใต้ หรือพิมพ์หรือเขียนเป็นตัวเอนไม่ต้องขีดเส้นใต้ ทั้ง 2 ชื่อไม่ติดกันเรียกระบบนี้ว่า การตั้งชื่อแบบทวินาม (binomial nomenclature)
 
 
scientific name
 

            หลักในการตั้งชื่อสากลสิ่งมีชีวิตใช้การตั้งตามหลักทวินาม (Binomial System) ของคาโรลัส ลินเนียส
            - หลักในการตั้งชื่อสัตว์ (Zoological Nomenclature  หรือ ICZN)
            - หลักในการตั้งชื่อพืช (Botanical Nomenclature หรือ ICBN)
            หลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์
            1. ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดต้องแยกออกจากกันอย่างชัดเจน
            2. ชื่อวิทยาศาสตร์ในแต่ละกลุ่มจะมีชื่อที่ถูกต้องเพียงชื่อเดียว ส่วนชื่ออื่น ๆ เป็นชื่อพ้อง
            3. ชื่อวิทยาศาสตร์ต้องเป็นภาษาลาติน ไม่ว่าจะเป็นภาษาใดก็ต้องแปลงมาเป็นภาษาลาติส (เนื่องจากว่าภาษาลาตินเป็นภาษาที่ตายแล้วนั้นหมายถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงของคำทำให้มีความมั่นคงไม่ต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา)
            4. จะใช้ชื่อ Genus หรือ Species ซ้ำกันไม่ได้
            5. ประกอบด้วยคำ 2 คำเสมอ
                -ในส่วนแรกจะเป็นชื่อสกุล ( generic name )  ตัวอักษรแรกเป็นตัวพิมพ์หรือเขียนใหญ่เป็นภาษาลาติน
                -ในส่วนคำหลังจะเป็นชื่อสปีชีส์ ( Specific epithet ) เป็นตัวพิมพ์หรือเขียนเล็กหมดเป็นภาษาลาตินเป็นคำเดียวหรือคำผสม
            6. การเขียนหรือพิมพ์ชื่อวิทยาศาสตร์ ต้องต่างจากตัวอื่น คือ ถ้าพิมพ์หรือเขียนเป็นตัวเอนไม่ต้องขีดเส้นใต้ แต่ถ้าพิมพ์หรือเขียนตัวตรงจะต้องขีดเส้นใต้ชื่อทั้งสองและขีดเส้นใต้ชื่อทั้งสองต้องไม่ติดต่อกัน  เช่น
            ต้นหางยกยูงไทย Poincina  pucherima หรือ Poincina  pucherima
            กล้วย Musa  rubra หรือ  Musa  rubra
            ชมพู่ป่า Syzygium  aksornae หรือ Syzygium  aksornae
            ในส่วนของชื่อสปีชีส์ถ้าหากลงท้ายด้วย spp. หมายถึง มีอยู่หลายสปีชีส์แต่ถ้าหากลงท้ายด้วย sp. หมายถึงมีอยู่สปีชีส์เดียว
            7. ผู้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ต้องเป็นผู้พบคนแรก และตีพิมพ์รายงานไว้ในหนังสือวิชาการที่เชื่อถือได้ให้เขียนชื่อไว้หลังชื่อวิทยาศาสตร์ โดยนำด้วยอักษรตัวใหญ่ ไม่ต้องเขียนตัวเอนหรือขีดเส้นใต้ เช่น
             Poincina  pulcherima Linn. (Linn. เป็ยชื่อย่อของ Linnaeus)
            ตัวอย่างชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต
 ผกากรอง  ชื่อวิทยาศาสตร์: Lantana camara L.
           ชื่อสามัญ:
Lantana
           วงศ์: VERBENACEAE
           ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตรง สี่เหลี่ยม มีหนามแหลม แตกกิ่งเป็นมุมแหลม ปลายกิ่งตั้ง การกระจายของกิ่งทั่วทั้งลำต้น มีขนสากทั่วใบและกิ่ง
           ใบ ใบเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบเดี่ยว รูปไข่ โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบหยักมน แผ่นใบมีขนปกคลุม ก้านใบกลม
           ดอก 
ดอกช่อแบบช่อกระจุกแน่น ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ดอกรอบนอกจะบานก่อน กลีบดอกเชื่อมกันเป็น หลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีหลายสี เช่น สีส้ม สีชมพู สีขาว สีแสด ภายในต้นเดียวกันอาจมีหลายสีด้วย มีกลิ่นหอมฉุน
           ผล ผลกลมขนาดเล็ก ผลสุกสีดำ
ลั่นทมขาว ชื่อวิทยาศาสตร์: Plumeria obtusa L.
           ชื่อสามัญ:
Evergreen Frangipani, Graveyard Flower, Pagoda Tree, Temple Tree, West Indian Jasmine
           วงศ์:
APOCYNACEAE
           ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
ไม้พุ่ม สูง 3-6 ม. ลำต้นและกิ่งก้านอวบน้ำ มีผิวขรุขระเกิดจากรอยที่ใบร่วง สีน้ำตาลปนเทา แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มกว้าง ทุกส่วนของต้นมี
น้ำยางสีขาว
           ใบ ใบเรียงสลับถี่บริเวณปลายกิ่ง ใบเดี่ยว ใบรูปไข่กลับแกมขอบขนาน กว้าง 5-8 ซม. ยาว 20-32 ซม. โคนใบแหลม ปลายใบมนหรือเว้าบุ๋ม ขอบใบเรียบ เส้นใบหนานูนมองเห็นชัดเจน ท้องใบสีเขียวอ่อนมีขน หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน
           ดอก ดอกช่อสีขาว กลางดอกสีเหลือง ออกตามซอกใบบริเวณปลายกิ่ง มีดอกย่อย 8-16 ดอก โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ภายในมีขน ปลายดอกแยกเป็น 5 กลีบ ซ้อนเหลื่อมกัน กลีบดอกรูปไข่กลับปลายมน ปลายกลีบโค้งลงไปทางด้านโคนดอก เมื่อดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-8 ซม. ดอกมีกลิ่นหอม
           ผล 
ผลเป็นฝักคู่ รูปยาวรี กว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาวประมาณ15 ซม. เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดแบนมีปีก

9 ความคิดเห็น:

  1. นางสาวจันทิมาพร ลุนศรี ม.6/7 เลขที่ 33

    ตอบลบ
  2. นางสาวอภิรุจี วงศ์ปัญญา ม.6/2 เลขที่ 27

    ตอบลบ
  3. นางสาววันวิสาข์ เรือแสน ชั้น ม.6/2 เลขที่ 32

    ตอบลบ
  4. นางสาวคติยา คำปลิว ม.6/2 เลขที่13

    ตอบลบ
  5. นางสาวกนกพร ยองเพชร ม.6/2 เลขที่29

    ตอบลบ
  6. นายเอกพันธ์ ถวายพร ม.6/4 เลขที่6

    ตอบลบ
  7. นายภานุพงศ์ วิชาพล ม. 6/4 เลขที่ 8

    ตอบลบ
  8. นาย เจนณรงค์ โพระกัน เลขที่ 12 ม.6/3

    ตอบลบ
  9. นายอโณทัย ไชยนัด ม.6/3 เลขที่ 10

    ตอบลบ